เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ศ.ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ ผอ.โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (Biodiversity Research and Training Program) ออกมากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนี้ว่า สิ่งแวดล้อมในประเทศไทยน่าเป็นห่วง เพราะยังบริหารจัดการได้ไม่ดีพอ ยิ่งหากเทียบกับสิงคโปร์ที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอย่างประเทศไทย แต่กลับจัดการได้ดีกว่า อีกทั้งการขยายถนนที่เขาใหญ่ ก็แสดงให้เห็นว่าวิธีคิดของคนไทยยังขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้าน ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ รองผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ปัญหาเรื่องโลกร้อนคือวิกฤติใหญ่ ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ทั้งเรื่องการเกษตร รวมไปถึงอาหารการกิน ยกตัวอย่างเช่น ฝนตกล่าช้า ทำให้อาหารออกผลผลิตผิดฤดู เป็นต้น ซึ่งน้ำก็ขาดแคลน จำเป็นต้องหาวิธีลดการใช้น้ำ และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับนาย บัวคำศรี ผู้ประสานงานรณรงค์ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ย้ำว่า ทุกคนจะต้องช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมในทุกวัน ไม่ใช่เพียงแค่วันที่ 5 มิ.ย. เท่านั้น อีกทั้งกระทรวงทัพยากรธรรมชาติก็ได้ใช้งบอย่างมากในการจัดนิทรรศการเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้ แต่ก็ไม่ส่งผลในระยะยาว จึงควรไปทำความเข้าใจกับภาครัฐมากกว่าให้ตระหนักถึงเรื่องนี้มากกว่านี้ เพราะประชาชนคงเข้าใจดีแล้ว
นอกจากนี้ประเด็นสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วง ก็ยังมีอยู่อย่างน้อย 5 อย่างด้วยกันคือ
1. มลพิษ เช่น น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่ทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติเสื่อมโทรม และการใช้เชื้อเพลิงจนทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก เป็นต้นส
2. ขยะ ขยะหลายชนิดเป็นขยะที่ย่อยยาก อีกทั้งประชากรที่มากขึ้น ก็ทำให้เกิดขยะมากขึ้น จนเกิดผลกระทบ
3. การทำลายป่า เพราะป่าคือต้นน้ำ และเป็นทรัพยากรที่จำเป็นต่อมนุษย์
1. มลพิษ เช่น น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่ทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติเสื่อมโทรม และการใช้เชื้อเพลิงจนทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก เป็นต้นส
2. ขยะ ขยะหลายชนิดเป็นขยะที่ย่อยยาก อีกทั้งประชากรที่มากขึ้น ก็ทำให้เกิดขยะมากขึ้น จนเกิดผลกระทบ
3. การทำลายป่า เพราะป่าคือต้นน้ำ และเป็นทรัพยากรที่จำเป็นต่อมนุษย์
4. ดินเสื่อม ที่เกิดจากการใช้สารเคมีลงบนหน้าดิน จนทำให้ดินเสื่อม และทำให้การเกษตรเป็นไปได้อย่างไม่มีคุณภาพ
5. ความหลากหลายทางชีวภาพ มนุษย์ทำลายความหลากหลายชีวภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ซึ่งล้วนเป็นความต้องการในระยะสั้น ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จะจัดกิจกรรมรณรงค์ที่อิมแพค เมืองทองธานี วันที่ 4-5 มิ.ย.นี้ เพื่อให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
สำหรับ วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 40 ปีก่อน หรือเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยองค์กรสหประชาชาติ (UN) ที่กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการอนุรักษ์ไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อม สำหรับประเด็นที่รณรงค์วันนี้ยูเอ็นรณรงค์ภายใต้แนวคิด ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก (Many Species One Planet One Future)
5. ความหลากหลายทางชีวภาพ มนุษย์ทำลายความหลากหลายชีวภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ซึ่งล้วนเป็นความต้องการในระยะสั้น ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จะจัดกิจกรรมรณรงค์ที่อิมแพค เมืองทองธานี วันที่ 4-5 มิ.ย.นี้ เพื่อให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
สำหรับ วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 40 ปีก่อน หรือเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยองค์กรสหประชาชาติ (UN) ที่กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการอนุรักษ์ไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อม สำหรับประเด็นที่รณรงค์วันนี้ยูเอ็นรณรงค์ภายใต้แนวคิด ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤตชีวิตโลก (Many Species One Planet One Future)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น